วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความอันตรายของมะเร็งแต่ละระยะ


ความร้ายแรงของมะเร็งนั้นขึ้นอยู่ ปัจจัยหลายอย่างเช่น บริเวณที่เป็น ชนิดของมะเร็ง และสาเหตุ ซึ่งมะเร็งบางชนิด สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่าย แต่ บางชนิดก็ยากมาก ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็งที่ตรวจเจอด้วย โดยแพทย์จะแบ่งความอัตรายออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน
             ระยะเริ่มต้น ระยะนี้คือระยะที่ เซลล์ที่ผิดปิกติ เริ่มกลายเป็นเซลล์ตั้งต้นของมะเร็ง (อ่านได้ที่มะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งระยะนี้ยังไม่อัตรายมากนัก และร่างกายยังสามารถกำจัดออกได้บางส่วน

             ระยะเติบโต หรือระยะที่ 1 คือ ระยะที่เซลล์ตั้งต้นเริ่มขยายเป็นก้อนเนื้อ และถ้าหากว่าเป็นที่ผิวหนัง หรือ เต้านม ก็จะสามารถคลำเจอได้ แต่ในระยะนี้มะเร็งยังมีขนาดไม่โตมาก คือ ไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าไปที่ต่อมน้ำเหลือง

              ระยะเจริญเติบโต หรือ ระยะที่ 2 ใน ระยะนี้จะเริ่มมีอาการเจ็บของก้อนเนื้อ หรืออาจจะไม่เจ็บก็ได้ แล้วแต่ว่า เป็นมะเร็งชนิดไหน ขนาดของก่้อนเนื้อก็จะเริ่มโตขึ้นมากกว่าเดิม แต่ยังน้อยกว่า 5 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง 

               ระยะลุกลาม หรือ ระยะที่ 3 ใน ระยะนี้มะเร็งจะเริ่มลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว นอกจากนี้ ยังมีอาการเจ็บตามมาแถว บริเวณก้อนเนื้อที่เป็น จนทำให้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และก้อนมะเร็งจะขยายมากขึ้นกว่าเดิม คือมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร แต่ว่ายังไม่แพร่กระจายไปอวัยวะส่วนอื่น 

                ระยะแพร่กระจาย ระยะที่ 4 เมื่อ เข้าสู่ระยะนี้ โอกาสที่จะรักษานั้นแทบไม่มีแล้ว แต่่ว่าบางคนก็สามารถรักษาหายได้ แต่โอกาศน้อยมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้ ในระยะนี้ มะเร็งได้เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และได้แพร่กระจาย ไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ แล้ว  โดยมากผู้ที่เป็นมะเร็งตับอ่อน จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า มะเร็งชนิดอื่น ๆ เนื่องจากว่า มะเร็งชนิดอื่น  ๆ จะเริ่มแสดงอาการว่าเป็นมะเร็ง ตั้งแต่ระยะก่อนหน้านี้แล้ว แต่มะเร็งตับอ่อนจะแสดงอาการในระยะที่ 4 นี้ 

                 ในการรักษาโรคมะเร็งนั้น แพทย์จะตรวจหามะเร็งและแบ่งระยะของมะเร็ง ออกเป็นช่วง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการรักษา เช่น หากพบผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มต้น จนถึงระยะที่ 1 ผู้ป่วยส่วนมากจะรักษาหายได้ง่าย ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ทั้งหมดทุกคน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อแพทย์พบว่า เซลล์มะเร็งหยุดการขยายตัว หยุดแพร่กระจาย และไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อร่างกายแล้ว แพทย์ก็จะหยุดทำการรักษา  
                 เนื่องจากว่าการรักษาโรคมะเร็งนั้นสร้างความบอบช้ำให้แก่ร่างกายอย่างสาหัส เพราะว่าในการรักษาไม่ว่าจะเป็นการ ฉายรังสี บำบัดด้วยเคมี  ยาปฏิชีวนะ  การผ่าตัด ล้วนแต่ทำให้เซลล์ที่ปกติที่อยู่ข้างเคียงเซลล์มะเร็งนั้นเกิดความเสียหายไป ด้วย ดังนั้นในการรักษาแพทย์จึงมุ่งเน้นไปที่ การหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง 
                 ในครั้งหน้าติดตามอ่านได้ต่อที่ การรักษาโรคมะเร็งของแพทย์ ว่ามีวิธีไหนบ้างและทำอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น